กรุ๊ปเอ็ม เปิดตัว Thailand Digital Playbook ประจำปี 2019

GroupM Thailad, Thailand Digital Playbook 2019

กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) เปิดตัว
‘THAILAND DIGITAL PLAYBOOK’ ประจำปี 2019

 

กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กลุ่มเอเยนซี่ผู้นำด้านการบริหารและวางแผนการซื้อสื่อระดับโลกในเครือ ดับบลิวพีพี จัดทำหนังสือสรุปภาพรวมเทรนด์ประจำปีของตลาดออนไลน์ของประเทศไทยภายใต้ชื่อ Thailand Digital Playbook เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ทั้งนี้หนังสือ Thailand Digital Playbook 2019 ได้รวบรวมความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคในสื่อดิจิทัลและคำอธิบายในการแก้ปัญหาที่สำคัญสำหรับนักการตลาดไว้อีกด้วย

 

สำหรับข้อมูลของหนังสือ Thailand Digital Playbook ในสองฉบับแรกได้เท้าความถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับวงการดิจิทัลและได้เผยถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่จากการเติมโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตหน้าใหม่ในประเทศไทย ในขณะที่เนื้อหาที่ได้รับการตีพิมพ์ในเล่มที่สามเมื่อปี 2018 จะกล่าวถึงเทคนิคและการวางกลยุทธ์อีคอมเมิร์ชในยุคที่การใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลเข้าถึงผู้บริโภคคนไทยมากขึ้น

 

แพน จรุงธนาภิบาล รองผู้อำนวยการแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวว่า

“เนื้อหาใน Thailand Digital Playbook ฉบับปี 2019 ซึ่งเป็นเล่มที่สี่จะเจาะลึกเข้าไปที่ข้อมูลสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทย การใช้จ่ายผ่านสื่อโฆษณาดิจิทัล การเข้าถึงสื่อต่าง ๆ เทรนด์ผู้บริโภค รวมถึงการผสมผสานข้อมูลผู้บริโภคร่วมกับเครื่องมือและเทคโนโลยรที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด”

 

ณัฏฐพัชร์ รุ่งนิเวศน์ เจ้าหน้าที่อาวุโสแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) อธิบายเพิ่มเติมถึงเนื้อหาที่สำคัญในหนังสือ Thailand Digital Playbook 2019 ว่า

“การเข้ามาของสื่อดิจิทัลได้แทรกแซงการวางแผนการสื่อสารทางการตลาดแบบดั้งเดิมซึ่งอิงจากหลักของการใช้ประชากรศาสตร์ นักการตลาดที่ต้องการมุ่งหน้าไปสู่ยุค 5.0 จะต้องมีฐานข้อมูลรวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้วางแผนคอนเทนต์ให้ล้อไปกับพฤติกรรมและความสนใจที่แท้จริงในแต่ละช่วงเวลาของผู้บริโภค”

 

โดยหนังสือ Thailand Digital Playbook 2019 ได้รวบรวมอินไซด์ที่น่าสนใจจากงานวิจัยของ กรุ๊ปเอ็ม ร่วมกับข้อมูลจากพันธมิตรทางธุรกิจไว้ดังนี้

DIGITAL ADVERTISING GROWTH

การเติมโตอย่างก้าวกระโดดของสื่อดิจิทัลในไทยที่อัตรา 16% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 14,330 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มีขนาดตลาดอยู่ที่ 12,402 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจที่มีการลงทุนในสื่อดิจิทัลสูงสุด 3 ลำดับได้แก่ รถยนต์ การสื่อสาร และธนาคาร (1,473 ล้านบาท 1,294 ล้านบาทและ 1,076 ล้านบาทตามลำดับ)

 

ประเภทธุรกิจและสินค้าที่มีอัตราลงทุนเพิ่มมากที่สุดได้แก่ กลุ่มสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม โดยโตขึ้นมาที่ 33% รองลงมาได้แก่กลุ่มธนาคารและกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีอัตราโตโดยรวมของดิจิทัลอยู่ที่ 27%

 

ส่วนภาพรวมการใช้สื่อดิจิทัลในของประเทศไทยนั้นสื่อโซเชียลชื่อดังอย่าง Facebook และ YouTube ยังคงความเป็นเจ้าตลาดที่อัตราส่วนแบ่งโฆษณาที่มากกว่า 50%

 

ด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการใช้ Social Listening หรือเทคโนโลยีการเฝ้าดูและติดตามแบรนด์หรือสินค้าทั้งของตัวเองและของคู่แข่งบนโซเชียลมีเดีย รวมไปถึงการสร้างรากฐานที่แข็งแรงของแบรนด์ในดิจิทัลก็ยังคงไปหัวใจหลักในการเข้าหาผู้บริโภค

 

EVOLUTION OF THAI CONSUMERS

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเดิม ๆ ที่ว่าด้วยหลักประชากรศาสตร์ เช่นการใช้เพศ หรืออายุ ไม่สามารถระบุตัวตนของกลุ่มเป้าหมายยุคดิจิทัลได้อีกต่อไป เนื่องจากการใช้อินเตอร์เนทได้เปิดประตูให้ผู้บริโภคแต่ละคนสามารถแสดงพฤติกรรม ความคิดเห็น ค้นหาสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อย่างเสรี หรือที่เราเรียกว่า Digital Personal ID

 

นอกจากนี้การเติบโตของการใช้เงินผ่านรูปแบบดิจิทัลในหมู่ผู้บริโภคคนไทยได้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการค้าหาข้อมูลในการซื้อสินค้าที่สั้นลง อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดระบบการตัดสินใจที่เร็วขึ้น

 

TREASURING DATA

ตลาดดิจิทัลที่มีการแข่งขันที่สูงนักการตลาดจะอาศัยการซื้อข้อมูลจาก Third Party เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะเป็นข้อมูลเปิดที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน

 

ในยุคดิจิทัลที่มีผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นี่คือโอกาสที่นักการตลาดจะต้องก้าวข้ามไปให้ถึงการสร้างฐานข้อมูลลูกค้าของตนเองขึ้นมาและนำการวิเคราะห์ผู้บริโภคผ่าน Digital Personal ID เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการสื่อสารซึ่งจะโยงไปถึงประสิทธิผลในการซื้อขายสินค้าแก่ผู้บริโภค

 

THE TRICKS OF THE TRADE

จากการที่สื่อดั้งเดิมได้เริ่มปรับตัวและกระโดดเข้ามาร่วมสร้างและขยายดิจิทัลแพลทฟอร์มให้มีความหลากหลายมากขึ้น ความท้าทายของแบรนด์และนักการตลาดคือต้องมีความมั่นใจในแผนกลยุทธ์สื่อสารทางการตลาดของตนว่าแต่ละชิ้นงานสื่อสารได้ถูกออกแบบเพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกที่และถูกเวลา ทั้งนี้การอาศัยเทคโนโลยีที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้นมาโดยเฉพาะผ่านระบบ AI จะสามารถช่วยจับชิ้นงานสื่อสารให้เข้ากับแต่ละ Digital Personal ID ได้อย่างแม่นยำ

 

นอกจากนี้การเลือกใช้ TMP หรือ Trusted Market Place หรือพื้นที่สื่อที่ได้รับการคัดสรรค์จะช่วยป้องกันไม่ให้ชิ้นงานของแบรนด์ไปแสดงอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและรวมไปถึงเวลาด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การเข้าถึงผู้บริโภคของแบรนด์มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกขั้นตอนของ Consumer Journey ทั้งด้านการรับรู้ การตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค

 

เพื่อตอบโจทย์ของการสร้างประสิทธิภาพบนดิจิทัล กรุ๊ปเอ็ม มีหน่วยงานเฉพาะทางอย่าง [m]PLATFORM และ Xaxis ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการลูกค้าของบริษัทในเครือในเรื่องของการวางแผนผ่าน Programmatic Media ที่รับรองผลลัพธ์ให้กับแบรนด์ และค้นหากลุ่มเป้าหมายผ่าน Digital Personal ID รวมไปถึงเครือข่ายสื่อพันธมิตรที่ได้รับการตรวจสอบและยืนยันในความปลอดภัย

 

ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวปิดท้ายว่า

“กรุ๊ปเอ็ม ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมสื่อสารการตลาด มีเจตนารมณ์ที่จะสร้างและส่งมอบองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้าของบริษัทในเครือรวมไปถึงบุคลากรในแวดวงการตลาดและการโฆษณา ทั้งนี้หนังสือ Thailand Digital Playbook 2019 ได้เกิดจากความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายในและบริษัทพันธมิตร เรามีความภูมิใจที่หนังสือ Thailand Digital Playbook ทุกเล่มที่ผ่านมาได้รับการตอบรับอย่างดีจากทั้งลูกค้ารวมถึงนักโฆษณาและการตลาดจากทั้งในและต่างประเทศ”

 

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถอ่าน Thailand Digital Playbook ฉบับเต็มได้ที่นี่

The Latest

X