‘มีเดียคอม’ เผยเทรนด์ตลาดดิจิทัลต้อง “ออน-ดีมานด์”

มีเดียคอม เผยเทรนด์ตลาดดิจิทัลผ่านงาน BLINK_live Thailand

มีเดียคอม กล่าวถึงผลกระทบจากความคุ้นชินต่อเทคโนโลยี

นางสาวสุภรณ์ อรุณภาคมงคล กรรมการบริหาร มีเดียคอม (ประเทศไทย) กล่าวว่าผลกระทบจากความคุ้นชินต่อเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคฉลาดและมีวิธีการเลือกรับสารจากดิจิทัลแฟลตฟอร์มมากขึ้น การเลือกช่องทางและวิธีการสื่อสารจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง

 

สอดคล้องกับปัจจุบันการสื่อสารการตลาดได้เข้าสู่ยุค On-demand Economy เพื่อตอบสนอง ความทันใจ ความสะดวก และ สร้างประสบการณ์เชื่อมต่อกับแบรนด์ โดยมีโทรศัพท์มือถือ เป็นหัวใจสำคัญ

 

นายเอกดนัย ยุกตะนันท์ ผู้อำนวยการแผนกบริหารธุรกิจของมีเดียคอม กล่าวในงานสัมมนา “MediaCom BLINK_live Thailand 2019” (บลิงค์ไลฟ์) ปีที่2 หัวข้อ MediaCom real world insight:The new normal ผลงานวิจัยเจาะลึกอิทธิพลโซเชียลมีเดีย ต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนไทยในปี 2561 ว่าเทรนด์โลก (Global Trends) ในปัจจุบัน คือ โลกยุคใหม่ของคนทำงาน (Gig Economy) ที่ผู้ทำงานกับเจ้าของธุรกิจไม่ต้องทำสัญญาระหว่างกัน เช่น คนขับแกร๊บกับเจ้าของธุรกิจแกร๊บ การสิ้นสุดของยุคแห่งความกระจัดกระจาย (End of Fragmentation Era) จากการเข้ามาของระบบคอมพิวเตอร์ เอไอ เทคโนโลยี ที่เข้ามาเชื่อมต่อระหว่างกัน

 

การศึกษาที่ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยี (Disruption Education) และ การเกิดขึ้นของธุรกิจจีน ซี-คอมเมิร์ซ (C-Commerce) ผ่านการค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วีแชท วีเพย์ คิวอาร์โค้ด ที่นำฟีเจอร์การชำระเงินเพิ่มความสะดวกในการจับจ่ายมากขึ้น

 

สำหรับประเทศไทย มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ จำนวนประชากรสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนกว่า 79% ขณะที่ทั่วโลกมีสัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อยู่ที่ 55% ซึ่งเป็นประเทศที่สามารถเชื่อมต่อความต้องการ (Demand Connection) อย่างแท้จริง

 

นอกจากนี้การเข้าสู่ยุคออน ดีมานด์ ในปี 2563 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ส่วน คือ ข้อมูลข่าวสาร (Information) เวลา (Time) และ ความรู้ (Knowledge) อีกด้วย

 

โดยบริษัทได้เก็บข้อมูลร่วมกับพันธมิตร นิด้า และ กันตาร์ ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปรียบเทียบระหว่างปี 2562-2563 พบว่ามีการชำระค่าบริการผ่านมือถือสูงขึ้น 160% การทำธุรกรรมโมบายล์แบงค์กิง 67% การซื้อสินค้าออนไลน์ 100% การซื้อของต่างๆจากแรงกระตุ้น 10% การฟังเพลง 45% การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 17% ขณะที่ 3 อันดับแรกในการใช้งานผ่านโมบายล์แอปพลิเคชัน คือ ความบันเทิง การเงิน และ อี-คอมเมิร์ซ และ จากการสำรวจยังพบว่า สิ่งที่ผู้คนรู้สึกสนุกสนานมากที่สุด จากการใช้แอปพลิคลชันบนมือถือ คือ ยูทูป ลาซาดา ช้อปปี อินสตราแกรม และ เฟซบุ๊ค

 

นอกจากนี้ ยังพบการวิวัฒนาการจากในปี 2561 อันดับแรก คือ การช้อปปิง ออนไลน์ ที่จะต้องตอบโจทย์ความสะดวกสบาย ส่วนในปี 2562 จะเป็นเรื่องของ การช้อปปิง ออนไลน์ ที่จะต้องให้ความสนุก และ บันเทิง รวมถึงในลางครั้งจะต้องเข้ากลุ่มเพื่อร่วมกิจกรรมด้วย

 

วิวัฒนาการด้านที่ 2 ในปีก่อนจะเป็นเรื่องของ ลักษณะการให้บริการทางโซเชียล มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ส่วนในปี 2562 ลักษณะการให้บริการและความไวในการตอบสนอง จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ต่อการสั่งซื้อสินค้า

 

จากจุดนี้ เจ้าของสินค้า/นักการตลาดอาจจำเป็นที่จะต้องนำเสนอแอปพลิเคชันเพื่อความเพลิดเพลินให้กับลูกค้าตามมา ทั้งการชมภาพยนต์ การฟังเพลง ข้อมูล ข่าวสาร อัพเดทเทรนด์ ไปจนถึงการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

 

สำหรับวิวัฒนาการที่ 3 จากในปีที่ผ่านมา กระแสคอนเทนต์ตามความต้องการ คือ การให้ความบันเทิงแก่ ลูกค้า ส่วนในปีนี้ คอนเทนต์ตามความต้องการ คือ การเพิ่มทักษะ หรือ การปรับปรุงทักษะใหม่ ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

 

วิวัฒนาการที่ 4 จากในปีก่อน จะพบว่า การใช้โมบายล์แบงค์กิง เพิ่มความสะดวกสบายอย่างมาก แต่ในปีนี้ โมบายล์แบงค์กิง ได้กลายมาเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานไปแล้ว

 

นายเอกดนัย กล่าวว่า ทั้ง 4 ด้าน จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำการตลาดแบบออนดีมานด์ โดยในปีหน้ามองว่าจะมีโอกาสต่างๆเกิดขึ้น จากการแบ่งปันประสบการณ์ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพแบรนด์ไปสู่ลูกค้า การสร้างประสบการณ์ความเพลิดเพลินในการจับจ่ายซื้อสินค้่า ด้วยวิธีใหม่ๆ เพื่อรักษาลูกค้่าให้คงอยู่

 

นอกจากนี้ ยังต้องวางกลยุทธ์การตอบสนองแบบทันท่วงที ซึ่งจะเป็นคีย์สำคัญในการเพิ่มความสะดวกต่อการสนทนาระหว่างลูกค้า รวมถึงการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตของลูกค้า เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นแบรนด์เลิฟ

 

 

ข้อมูลจาก Post Today วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562

The Latest

X