อัพเดท 4 พฤติกรรมคนภูธร 2019 ที่นักการตลาดต้องทำความเข้าใจใหม่

อัพเดท 4 พฤติกรรมคนภูธร 2019
ที่นักการตลาดต้องทำความเข้าใจใหม่

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์

เชื่อว่าทุกวันนี้ยังมีนักการตลาดจำนวนมากที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรการใช้อินเตอร์เน็ตในยุคดิจิทัลของคนต่างจังหวัด(Rural)  ว่ายังมีความแตกต่างจากคนในเมือง (Urban) อยู่หลายช่วงตัว แต่อัพเดทล่าสุดจากงานสัมมนาดิจิทัล GroupM Focal ประจำปี 2019 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี พบว่าช่วงระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมาพฤติกรรมของคนภูธรเกี่ยวกับการเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจนเกินความคาดเดาของใครหลายคน

 

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) อธิบายที่มาที่ไปของเรื่องนี้ว่า ในอดีตเมื่อมีการพูดถึง Internet หรือDigital ยังถือเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนภูธร กระทั่งประเทศไทยมีเทคโนโลยี 3G, 4G ขึ้นมา ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า New Internet User ขึ้นมาในช่วงปี 2015

 

มาในปัจจุบัน คนกลุ่มนี้มีความเข้าใจและเข้าถึงการใช้ Internet มากขึ้น จากเดิมที่ใช้แค่ดู Content ก็เรียนรู้ที่จะใช้ Application อื่นๆจนกลายเป็นกลุ่ม New Normal เรียกได้ว่าทุกวันนี้วงกลม 2 คือ Rural และ Urban ขยับเข้ามาทับซ้อนทับกันมากขึ้นอย่างมาก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยมีเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง

 

คราวนี้เราลองมาดูกันว่า 4 จุดเปลี่ยนใหญ่ เมื่อเกิดการทับซ้อนของวงกลม 2 วง ระหว่าง Rural และ Urban มีอะไรบ้าง

1. New Media Platform

ประเทศไทยเดินทางมาถึงยุคที่คนเสพ Entertainment Content ผ่านทีวีน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งส่งผลกับธุรกิจทีวีดิจิทัลเป็นอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้วสื่อวิทยุก็ยังได้รับผลกระทบไปด้วยจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งนี้

 

ในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์การรับรู้ข่าวสารบ้านเมือง เศรษฐกิจ บันเทิง ในอดีตสื่อสิ่งพิมพ์อย่างหนังสือพิมพ์เป็นที่นิยม แต่ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย ข่าวสารหรือ Content ที่ธุรกิจ หรือแบรนด์นำเสนอนั้นต้องมีความน่าสนใจเท่านั้นจึงจะสามารถซื้อเวลาเสพข่าวสารของผู้บริโภคไปได้

 

Say No TV

• TV >>> YouTube / Line TV / Mello / Facebook Live

 

Say No Radio

• Radio >>> YouTube / JOOX

Say No Print

• Print >>> Facebook feed / Twitter / Facebook Live

 

2. Shopping Online ไม่ใช่แค่ Lazada

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนมาอยู่บน Internet และ Digital มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ การทำธุรกิจออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นมาก

 

แต่พบว่าในปัจจุบัน ความสำคัญของการค้าขายไม่ใช่อยู่ที่ออนไลน์อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ แต่อยู่ที่การสร้างสมดุลออนไลน์และออฟไลน์ ที่เรียกว่า  O2O

 

ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้บริหารแผนกพัฒนาและการตลาด บริษัท กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายความสำคัญที่ทำให้นักการตลาดจำเป็นต้องบาลานซ์ช่องทางการขายระหว่าง ออฟไลน์กับออนไลน์ว่า แม้ว่าธุรกิจซื้อขายออนไลน์ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่จะนึกถึงLazada แต่ช่องทางออฟไลน์ ก็ยังคงมีความสำคัญ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้ช่องทางออฟไลน์เพื่อตามติดเทรนด์ หรือดูสินค้าใหม่ ๆซึ่งเปรียบเสมือน น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า”

 

นอกจากนี้แล้ว อีกช่องทางที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นก็คือ  Facebook Live สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการบางรายสูงถึง 7 หลักต่อเดือน อาทิ ฮาซันที่ขายอาหารทะเลตากแห้งจนสามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

 

3. เปลี่ยน LINE Chat เป็น Day a Life 

การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่ายแค่คุณมีสมาร์ทโฟน แอพพลิเคชั่น LINE ถือเป็นตัวเลือกที่ทั้งคนกรุง คนต่างจังหวัด มีไว้ติดต่อสารสื่อสารกัน ตัวอย่าง เช่น

 

จากการสัมภาษณ์ข้อมูล มีคุณครูท่านหนึ่งเป็นคุณครูอยู่ที่จังหวัดลำพูน สอนอยู่ที่โรงเรียนที่มีนักเรียนทั้งหมด 1,200 คน จากอดีตการที่จะติดต่อผู้ปกครองของนักเรียนจำนวน 1,200 คน ถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองนักเรียนผ่าน LINE กลายเป็นว่าผู้ปกครองทุกคนต้องมี LINE เพื่อติดต่อข่าวสารกับโรงเรียน

 

อีกกรณีหนึ่งที่สามารถบอกได้ว่า Internet ได้มีบทบาทกับองค์กร กล่าวว่าในอดีตเอกสารราชการต้องการส่งผ่าน messenger ที่ต้องมาส่งเอกสารที่องค์กร แต่ในปัจจุบันสามารถส่งผ่าน E-mail หรือ LINE

 

4. Digital Money

พบว่าคนต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากมีมุมมองที่เปลี่ยนไปกับเรื่อง Digital Money คือมีการเปิดรับมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะกับเรื่องความปลอดภัย จากเดิมที่มักจะไว้ใจในการทำธุรกรรมทางการเงินกับสาขา เพราะมีเอกสารยืนยัน ก็เปลี่ยนมาทำธุรกรรมผ่านMobile Banking มากขึ้น เหตุผลมาจากความสะดวกสบายและไม่มีค่าธรรมเนียม

 

ในส่วนของการหารายได้ ปัจจุบันผู้บริโภคในต่างจังหวัดเริ่มกล้าที่จะใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตสำหรับการหารายได้เสริมมากขึ้น อาทิ การทดลองเปิดเพจขายของออนไลน์ ทั้งแบบที่ทำธุรกิจออฟไลน์อยู่ก่อนแล้ว และแบบหาสินค้ามาจำหน่ายเอง รวมถึงยังมีอีกหลายรายได้เสริมจากผ่านการเล่นเกมในโซเชียลมีเดียด้วยการเป็น YouTuber เป็นต้น

 

ในทางกลับกัน การใช้เงินผ่านโลกออนไลน์ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เช่นกันเพราะความสะดวกสบาย และมีแรงกระตุ้นการซื้อขาย ผ่านการอ่านรีวิว หรือดูรีวิวผ่าน YouTube และ Facebook Live โดยพบว่าผู้บริโภคจะพร้อมจะซื้อของออนไลน์มากขึ้น จาก 3 เหตุผลหลักคือ มีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม, มีบริการส่งสินค้าด่วนและฟรี และเมื่อของกินของใช้ในบ้านใกล้หมด

 

 

 

ข้อมูลจาก BrandAge Online วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2562

The Latest

X