MINDSHARE POV – ไวรัสโคโรนาและผลกระทบต่อธุรกิจสื่อ
คุณปัทมวรรณ สถาพร และทีมงาน มายด์แชร์ ประเทศไทย (Mindshare Thailand) มีเดียเอเยนซี่ชั้นนำในเครือ กรุ๊ปเอ็ม (GroupM) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ไวรัสโคโรนาและความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจสื่อในประเทศไทยว่า
ความเป็นมา
เพียงแค่เดือนแรกของปี 2020 ก็มีสถานการณ์และเหตุการณ์ระดับโลกเกิดขึ้นมากมาย เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าในประเทศออสเตรเลีย การปะทุของภูเขาไฟในประเทศฟิลิปปินส์ เหตุเครื่องบินตกในประเทศอิหร่าน การจากไปของตำนานแห่งวงการบาสเกตบอล ความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและสหรัฐฯ และล่าสุดคือการมาเยือนสุดระทึกโลกของไวรัสโคโรนาที่เริ่มแพร่กระจายมาตั้งแต่สิ้นปี ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ยังคงคุกรุ่นจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น
การระบาดของไวรัสโคโรนานั้นเริ่มต้นมาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในขณะนี้ ประเทศอื่น ๆ ทั้งในแถบเอเชีย – แปซิฟิก รวมถึงทั่วโลกล้วนแต่ได้รับผลกระทบเองก็ไ้รับผลกระทบเช่นกน โดยเห็นได้จากการที่ภาครัฐของแต่ละประเทศได้เร่งออกนโยบายเพื่อรับมือกับสถานการณ์ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ มายด์แชร์ ได้ติดตามสถานการณ์และข่าวสารอย่างใกล้ชิดผ่านเครือข่ายและแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะสามารถให้คำแนะนำและมุมมองต่าง ๆ ต่อการวางแผนการสื่อสารและการตลาดแก่ลูกค้าของเราได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที
สถานการณ์ปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มีนโยบายห้ามนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนเดินทางเข้าราชอาณาจักร แต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงในช่วงนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินการคาดเดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนชาวจีนหลังพบว่ามีการเลื่อนเที่ยวบินในทุกวัตถุประสงค์ ทั้งเพื่อธุรกิจและท่องเที่ยว
>> โดยเหตุการณ์นี้จะมีผลต่อเนื่องตลอดไตรมาสแรก และส่งผลกระทบโดยตรงกับร้านค้า รวมทั้งสื่อโฆษณาในสนามบิน ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจการท่องเที่ยว
>> จากการสำรวจพบว่างานอีเวนต์ที่วางแผนจัดในช่วงเดือนมกราคมจนถึงมีนาคม โดยส่วนมากได้ถูกเลื่อนไปจัดในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
>> สินค้าเพื่อสุขภาพต่าง ๆ เริ่มมีแนวโน้มขาดตลาดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นสัญญาณว่าคนไทยเริ่มมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5
>> สินค้าจากการซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซจากประเทศจีนเริ่มมีการค้างจัดส่งและเกิดความล่าช้า คาดว่าจะใช้เวลาในการส่งถึงมือผู้รับประมาณ 1 เดือนเป็นอย่างน้อย
แนวทางปฏิบัติ
ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญของแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพและการให้บริการที่จะลงมือทำการตลาดด้วยความจริงใจและแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ โดยสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพอย่าง โรงพยาบาล สินค้าเภสัชกรรม บริการประกันสุขภาพ รวมไปถึงสินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัย จะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการตื่นตัวของผู้บริโภคที่ต้องการความปลอดภัยจากโรคร้ายและมีสุขอนามัยที่ดี
จำนวนการค้นหาคำบน Google: หน้ากาก (สีฟ้า), ไวรัสโคโรนา (เหลือง), อู่ฮั่น (เขียว) และ PM2.5 (แดง)
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์สบู่ แบรนด์ Lifebuoy จากอินเดีย ที่ให้ความสำคัญในการสื่อสารแนวทางปฏิบัติเพื่อสุขอนามัย เพื่อให้ปลอดภัยจากไวรัสโคโรนา
ตัวอย่างชิ้นงานโฆษณาจาก Lifebuoy ประเทศอินเดีย
ความตื่นตัวทางด้านความปลอดภัยในสุขภาพและอนามัยทำให้เริ่มเกิดพฤติกรรมที่ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น ดังนั้นการบริโภคสื่อประเภททีวีและสื่อดิจิทัลจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
>> ยอดผู้ชมเพิ่มขึ้นบนสื่อทีวีด้วยแรงหนุนจากผู้รับชมรายการข่าวที่เพิ่มขึ้นถึง 11% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2019
ยอดผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน
ยอดผู้ชมรายการประเภทข่าวที่เพิ่มขึ้น
>> การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาเพิ่มขึ้นบนสื่อดิจิทัล รวมถึงบรรดาข่าวปลอมก็มีส่วนสร้างความสับสนและตื่นตระหนกในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน
>> ที่ประเทศจีนพบว่ายอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมอยู่ที่บ้านมากขึ้น รวมถึงยอดผู้เล่นเกมประเภทที่เล่นคนเดียวก็เติบโตขึ้นเช่นกัน
ถึงแม้ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลื่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าในบางประเภท แต่เราเชื่อว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะอยู่ไม่นานเกิน 40 – 45 วัน ทั้งนี้การลงทุนทางด้านภาพลักษณ์ในเชิงบวกและการสร้างความน่าจดจำถือเป็นโอกาสที่น่าลงทุนสำหรับแบรนด์ เพราะถือว่าเป็นช่วงที่ผู้บริโภคมีเวลาที่จะใช้พินิจและตัดสินใจ
สำหรับงานอีเวนต์และกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ ฝ่ายจัดงานควรให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
>> ระบุรายละเอียดการตรวจวัดความปลอดภัยและสุขอนามัย อย่างชัดเจนบนหมายเชิญ
>> การปรับรูปแบบการจัดงานเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าร่วมงานผ่านเทคโนโลยี เช่น การถ่ายทอดสดงานผ่านระบบออนไลน์
>> หากมีความจำเป็น ควรเลื่อนการจัดงาน
สุดท้าย จากความล่าช้าของการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน ถือเป็นโอกาสทองของแบรนด์ในประเทศที่มีความพร้อมในการใช้อีคอมเมิร์ซและบริการจัดส่งถึงบ้านได้อย่างทันท่วงที
นี่คืออัปเดตแรกจาก ทีมมายด์แชร์ ที่จะนำเสนอข่าวสารจากหลากหลายมุมมองจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ หากมีข้อสงสัยท่านสามารถติดต่อทีมงานของ มายด์แชร์ ประเทศไทย เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน
Marketing Oops! – จับตาไวรัสโคโรนา กระทบ “ธุรกิจสื่อ” อย่างไร ? พร้อมแนวทางรับมือของแบรนด์บนความท้าทาย
Marketeer – แบรนด์จะไปอย่างไรต่อในช่วงไวรัส โคโรนา ยังคงอยู่
เกี่ยวกับมายด์แชร์
มายด์แชร์ ก่อตั้งในเอเชียตั้งแต่ปี 2540 โดย WPP พร้อมมีอุดมการณ์ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกของสื่อ ซึ่งในปัจจุบันมายด์แชร์มี 116 ออฟฟิศ ใน 86 ประเทศทั่วโลก และมีมูลค่าเม็ดเงินกว่า 16.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มายด์แชร์นับเป็นเอเยนซี่อันดับหนึ่งของ กรุ๊ปเอ็ม ซึ่งเป็นกลุ่มการบริหารและวางแผนสื่ออันดับ 1 ของโลก ด้วยเม็ดเงินมูลค่ากว่า 45.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (จากการจัดอันดับของ COMvergence 2018) เรามีความปรารถนาที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับลูกค้าของเราผ่านการวางแผนสื่อแบบ Adaptive and Inventive Marketing บนค่านิยมของ Speed, Teamwork and Provocation เพราะเราเชื่อว่าโลกในปัจจุบันนี้เริ่มต้นและจบลงที่สื่อ เราสร้างสรรค์และเรามีความสนุกในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.mindshareworld.com/thailand
เกี่ยวกับกรุ๊ปเอ็ม
กรุ๊ปเอ็ม คือบริษัทบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลก ภายใต้กลุ่ม ดับบลิวพีพี ซึ่งมีบริษัทในเครือในประเทศไทยได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ รวมทั้ง แซกซิส แพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลด้านดิจิทัลแบบโปรแกรมเมตริก โดยดูแลบริหารเงินลงทุนมากกว่า ห้าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปีของผู้โฆษณารายใหญ่ของโลกหลายราย
กรุ๊ปเอ็ม สร้างความได้เปรียบให้แก่ลูกค้าด้วยการมอบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาดสื่อและผู้บริโภค นอกจากนั้นยังสนับสนุนเอเยนซี่และลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญด้านการซื้อขาย ข้อมูล เทคโนโลยี และบริการเฉพาะทาง ซึ่งรวมถึงบริการโทรทัศน์ คอนเทนต์ และกีฬาที่สามารถระบุตัวตนของผู้ชมได้
CONTRIBUTORS
ปัทมวรรณ สถาพร / Pathamawan Sathaporn
Managing Director, Mindshare Thailand
Pathamawan.Sathaporn@mindshareworld.com
Thavatchai Sutthikijjanon
Partner – Client Leadership, Mindshare Thailand
Thavatchai.Sutthikijjanon@mindshareworld.com
Bussarakham Eamamphai
Director – Exchange Planning, Mindshare Thailand
Bussarakham.Eamamphai@mindshareworld.com
TRANSLATED BY
นันท์ทนนท์ กิจเจริญนันท์ / Nantanont Kijcharoennant
Supervisor, Marketing & Development – GroupM Thailand
Nantanont.Kijcharoennant@groupm.com
ณัฐดนัย ตระการวัฒนวงศ์ / Natdanai Trakarnvattanavong
Marketing & Development Executive – GroupM Thailand
Natdanat.Trakarnvattanavong@groupm.com