2021 ยังคงเป็นปีที่วงการอินฟลูเอนเซอร์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการมีผู้ผลิตคอนเทนต์บนแฟลตฟอร์มต่าง ๆ มากขึ้นสืบเนื่องจากการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่ายมากขึ้นและความใฝ่ฝันของเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์มืออาชีพ ทั้งยังเกิดจากการที่ผู้บริโภคมีความสนใจที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและค่านิยมทางสังคมเช่น กลุ่ม LGBTQ หรือกลุ่มผู้สูงอายุ และอย่างเลี่ยงไม่ได้คือวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปตั้งแต่เกิดโรคระบาดที่ทำให้ผู้บริโภคมีการเสพสื่อมากขึ้น
มายด์แชร์ (ประเทศไทย) เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม เผยถึงบทความล่าสุด “Influencer Marketing” ชี้โอกาสและความท้ายทางของแบรนด์ในการสื่อสารการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์สำหรับปี 2021 ซึ่งเป็นยุคที่ผู้บริโภคยังคงมองหาความเชื่อมั่นของแบรนด์จากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์แต่ในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณพัสสน สวัสดิเกียรติ ผู้อำนวยการแผนกวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า
“ในทุก ๆ ปี ทางทีมวางแผนและพัฒนาธุรกิจจะมีบทความที่แชร์ให้กับทีมทำงานและลูกค้าของมายด์แชร์เพื่อจุดประกายความคิดในมุมมองใหม่ ๆ หรือให้เห็นถึงเทรนด์ที่น่าจับตามอง และในครั้งนี้เราได้รวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนประกอบเป็นบทความชิ้นนี้ขึ้นเพื่อให้นักการตลาดเห็นถึงโอกาสในการใช้อินฟลูเอนเซอร์ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด”
Roxanni Garcia รองผู้อำนวยการแผนกวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า
“เรามองว่าตลาดของอินฟลูเอนเซอร์ยังคงน่าจับตามองเพราะตัวเลขการลงทุนในโซเซียลมีเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักการตลาดสามารถวางแผนการสื่อสารการตลาดได้ เราจึงได้รวบรวมภูมิทัศน์ของอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อชี้ให้แบรนด์เห็นแนวโน้มของตลาดอินฟลูเอนเซอร์เพื่อเตรียมพร้อมในการทำการตลาดต่อ ๆ ไป”
คุณพิชญา อุทัยเจริญพงษ์ ผู้อำนวยการ Content+ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า
“ด้วยทีม Content+ ที่ต้องทำงานกับลูกค้าในการช่วยเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์หรือของแคมเปญนั้น ๆ รวมทั้งทำงานร่วมกับกับอินฟลูเอนเซอร์ในการผลิตคอนเทนต์ต่าง ๆ เราจึงแชร์ข้อคิดจากประสบการณ์การทำงานเพื่อให้บทความชิ้นนี้สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและสื่อให้มากที่สุด”
มายด์แชร์ ยังได้ให้มุมมองต่อการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ดังนี
ภาพรวมตลาดอินฟลูเอนเซอร์ต่อการสื่อสารทางการตลาด
>> ตัวเลขของ DAAT คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาบนโซเซียลมีเดียของปี 2021 อยู่ที่ 2,113 พันล้านบาท โดยคิดเป็น 9.1% จากยอดการการซื้อสื่อออนไลน์ทั้งหมด
>> ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบัน
>>> การเพิ่มขึ้นของผู้ผลิตคอนเทนต์จากการเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย
>>> กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเฉพาะเจาะจงและหลากหลายมากขึ้น
>>> การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความต้องการแบบใหม่
การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอินฟลูเอนเซอร์
การเพิ่มขึ้นของประเภทและหมวดหมู่ของอินฟลูเอนเซอร์
>>> อินฟลูเอนเซอร์นิชมาร์เก็ต (Niche/Specialties)
>>> อินฟลูเอนเซอร์ผู้บริหาร (Executive Influencers)
>>> อินฟลูเอนเซอร์ด้านความเสมอภาค ความหลากหลาย และการรวมกลุ่ม (Inclusive Influencers)
>>> อินฟลูเอนเซอร์ต่างชาติ (Cross-border Influencers)
>>> อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง (Virtual Influencers)
วิวัฒนาการและรูปแบบการใช้อินฟลูเอนเซอร์
>>> การสร้างเอนเกจเมนท์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคผ่านทางคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอต่าง ๆ
>>> การที่อินฟลูเอนเซอร์มีส่วนในการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์
ปัจจัยความสำเร็จและตัวอย่างผลงานแสดงความจริงใจและความรับผิดชอบ
>>> แบรนด์ควรเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีแนวความคิดและไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับความเชื่อของแบรนด์ เมื่อเป็นช่นนี้แล้วก็จะได้คอนเทนต์ที่มีความจริงใจต่อผู้บริโภคในท้ายที่สุด
>>> แบรนด์ควรมีพื้นที่และวิธีการที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าของแบรนด์ได้แสดงความคิดเห็นและสนับสนุนกับเพื่อนและครอบครัวจากใช้จริง
>>> แบรนด์ควรให้อิสระต่ออินฟลูเอนเซอร์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์
>>> แบรนด์ไม่ควรทิ้งเรื่องบิ๊กดาต้าและเทคโนโลยีในการเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อการเขาถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ