ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ชโตในกลุ่มเมืองรองตามกระแสคนเมืองใหญ่

ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ซโตในกลุ่มเมืองรองตามกระแสคนเมืองใหญ่

Mindshare Hunt

มายด์แชร์  เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม เผยในวันนี้ถึงผลการศึกษา “HUNT 2019” ชี้ผู้บริโภคเมืองรองมีความภูมิใจและมีความสุขกับถิ่นฐานบ้านเกิด แต่อยากมีประสบการณ์การใช้สินค้าและบริการตามแบบคนเมืองใหญ่ มองโลกออนไลน์เป็นแพลตฟอร์มที่เสริมสร้างและยกระดับคุณภาพชีวิต

 

วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยครั้งนี้ก็เพื่อสำรวจและเข้าใจวิถีชีวิตและแรงจูงใจของผู้บริโภคเมืองรองต่อการเสพย์สื่อและเลือกซื้อของอุปโภคและบริโภคเพื่อให้นักการตลาดนำข้อมูลไปปรับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และเสริมด้วยการทำการศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง สกลนคร นครสวรรค์ และนครศรีธรรมราช

 

คุณณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ที่มาของการทำวิจัยครั้งนี้เพื่อต้องการทำความเข้าใจผู้บริโภคในเมืองรองในยุคปัจจุบันที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีความสะดวกและทั่วถึง ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกับคนเมืองใหญ่อย่างไร ซึ่งสาระสำคัญที่เราพบคือ ปัจจุบันอำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง พวกเขาต่างมองหาโอกาสที่จะสร้างอัตลักษณ์ของตัวเอง และพฤติกรรมผู้บริโภคไม่สามารถใช้เพียงข้อมูลทางประชากรศาสตร์อย่างอายุ เพศ หรือถิ่นที่อยู่เพียงอย่างดียวในการกำหนด นักการตลาดต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลทางพฤติกรรมควบคู่กันไป”

 

โดยสิ่งที่เราได้จากงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งได้ตามนี้

01
ผู้บริโภคในเมืองรองมีความพอใจในถิ่นฐานและมีความสุขกับชีวิตของตนเอง ไม่ได้ต้องการเขาเข้ามาอาศัยหรือประกอบอาชีพในเมืองใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่มีแรงบันดาลใจในการชีวิตในเรื่องของการซื้อสินค้าและบริการจากคนในเมืองใหญ่ ดังนั้นอีคอมเมิร์ชจึงเข้ามาเติมเต็มคนบริโภคกลุ่มนี้ในการจับจ่าย

02
มีอิสระในการเลือกซึ่งสะท้อนออกมาทั้งในเรื่องของการเลือกประกอบอาชีพ การเลือกคอนเทนต์ และเลือกการเสพย์สื่อตามเนื้อหาและเวลาที่ต้องการ

03
มีความผูกพันในท้องถิ่นและครอบครัวขยายของตนมากขึ้นผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมไปถึงการสร้างมารยาททางสังคมออนไลน์อีกด้วย

04
การเสพย์สื่อของผู้บริโภคกลุ่มนี้เปลี่ยนไป เนื่องจากอายุไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกรับสื่อ แต่คือพฤติกรรมและความสนใจเป็นตัวกำหนดการเสพย์คอนเทนต์ สิ่งที่น่าจับตามองว่าเป็นคอนเทนต์ที่น่าสนใจของผู้บริโภคกลุ่มนี้คือเรื่องของอีสปอร์ตและการถ่ายทอดสด

05
โลกออนไลน์คือแฟลตฟอร์มที่เสริมสร้างให้ชีวิตของตนดีขึ้นในทุกมิติ

06
แม้การซื้อของออนไลน์จะเติบโต แต่ในผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ยังต้องการการปฏิสัมพันธ์กับคน รวมไปถึงความเชื่อมั่นในการชำระเงินปลายทางมากกว่าการโอนเงินออนไลน์

07
ความคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหา

 

ข้อคิดสำหรับนักการตลาดเมื่อต้องการสื่อสารผู้บริโภคกลุ่มนี้

A แบรนด์ควรให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์และการเข้าถึงทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์

B นักการตลาดควรวางกลุ่มเป้าหมายในการทำการสื่อสารจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันเราไม่สามารถกล่าวได้ว่าอายุมีผลต่อการเข้าถึงสื่อออนไลน์อีกต่อไป

C นักการตลาดควรพุ่งความสนใจไปที่เรื่องของปัจเจกและเข้าถึงกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยข้อมูล data footprint

E แบรนด์ควรเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีอิสระในการเลือกตามความต้องการของแต่ละคน

D ในการทำแคมเปญการสื่อสาร แบรนด์ต้องมั่นใจว่าการสื่อสารนั้นครอบคลุมทั้งในส่วนของออนไลน์และออฟไลน์

 

 


ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร
Director of Business Planning & Insights – Mindshare Thailand
Natha.Piyavirojsthien@MinddshareWorld.com

The Latest

X