มายด์แชร์เจาะกระแส Short Video และโอกาสของแบรนด์กับ T-Pop

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสารในเครือ กรุ๊ปเอ็ม เผยถึงมุมมอง ความคิด และข้อเสนอแนะต่อการวางแผนการสื่อสารการตลาดผ่านการใช้เพลงและศิลปินไทยในยุคปัจจุบันผ่าน Mindshare Think Tanks รายงานการวิเคราะกระแสและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

มายด์แชร์ได้นำเสนอเรื่องราวของวงการเพลงไทยและให้มุมมองต่อการใช้เพลงไทยในการสื่อสารการตลาดดังนี้

  1. ภาพรวมเพลงไทย T-Pop โดยย่อที่เริ่มจากยุคราราโอเกะ และจนถึงยุคปัจจุบันที่เรียกว่าเป็น Expression Era นี้มีลักษณะเฉพาะที่ต่างออกไป ศิลปินสามารถ Express ความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่ผ่านผลงานต่างๆ ที่มีความ โดดเด่นด้วยความสร้างสรรค์ทางดนตรีที่หลากหลายและมีการร่วมมือกับศิลปินระดับนานาชาติ สื่อโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญในการกระจายข่าวสารและการสร้างความสนใจ ในยุคนี้ ศิลปินอิสระได้เกิดการเติบโตและได้รับการยอมรับมากขึ้น และการแสดงตัวของ LGBTQ+ ก็ได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเติบโตของวงการเพลงและความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน และยังแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและความรวมกันของวงการเพลง
    .
  2. การกลับมาอยู่ในกระแสของเพลงไทย T-Pop พบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาในแพลตฟอร์ม TikTok มี #T-Pop เติบโตขึ้น 3 เท่าโดยที่มีการใช้งานใน global 2 พันล้านครั้ง นับเป็นของไทย 1 พันล้านครั้ง (ตัวเลขจาก TikTok) อันเนื่องมาจาก
    • การมีเวทีการแข่งขัน ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีความรู้สึกร่วมไปกับศิลปิน
    • การมีพื้นที่สาธารณะที่ให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความสนใจในดนตรี เช่นพื้นที่ตรงสยามสแควร์ เป็นต้น
    • การใช้เพลงในซีรีส์ที่นับว่าเป็นสื่อในการเชื่อมแฟนซีรีส์ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
    • การเกิดขึ้นของค่ายเพลงใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้ฟังมีตัวเลือกในการฟังมากขึ้นทั้งนี้ยังมีปัจจัยจากสังคมไทยที่จะยังทำให้กระแสของเพลงไทยยังเติบโตไปได้ เช่น
    • การสร้าง Cultural Appeal กับผู้ฟังผ่านประสบการณ์ที่ใกล้ชิดและความรู้สึกที่เข้าใจได้ เช่นการแต่งและปล่อยเพลงทีเข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงนั้นๆ
    • แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลง เช่น Apple Music, Spotify, และ Joox ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและหลากหลายในการเข้าถึงเพลง T–Pop ให้ได้ราคาที่เหมาะสมและความหลากหลาย
    • ความนิยมของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น อย่างเช่น Facebook Watch, Instagram Reels, และ TikTok ได้ช่วยให้เกิด emotional connection และเพิ่มการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้างมากขึ้น ทำให้เพลง T-Pop มีการรับรู้ที่สูงขึ้นผ่านเนื้อหาสั้นๆที่น่าสนใจ
    • TikTok ช่วยสร้างให้เป็นกระแส และทำให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม ผ่านการเต้นชาเล้นจ์ และแพลตฟอร์มสามารถใช้เพลงในการมาทำคอนเท้นได้ฟรี ให้เกิดเปน User Generated Content
    • การใช้เทคนิคของการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดีย (transmedia storytelling) ที่เห็นได้จากการนำเอา 9×9 เข้ามาในซีรีส์ทีวีเรื่อง “เลือดข้นคนจาง” ได้ขยายการเข้าถึงของเพลง T-Pop และเป็นสื่อที่ถ่ายทอดให้กับผู้ชมในหลายแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอนเสิร์ต เพลง มิวสิควิดีโอ ไปทุกสื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย
    • ความสำเร็จที่เกิดขึ้นของ K-Pop และ J-Pop ในระดับโลก ได้สร้างความสนใจที่มากขึ้นในด้านเพลงเอเชียรวมถึง ส่งผลให้ T-Pop ได้โอกาสมีแสง และได้รับการยอมรับและขยายผู้ชมที่สนใจในเพลง T-Pop ในวงกว้างมากขึ้น
      .
  3. การใช้ T-Pop ในการทำการสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ และผลลัพธ์ในวงกว้าง รวมไปถึงการใช้เพลงไทยเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนเทรนด์ในยุคปัจจุบัน ที่ออกมาในรูปแบบของ
    • สปอนเซอร์ชิป (sponsorship) : เป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ที่จะมาเชื่อมต่อกับผู้บริโภคผ่านทางการมาเป็นผู้สนับสนุนให้กับคอนเสิร์ตต่าง ๆ หรือรายการเพลง เป็นต้น
    • โปรดักเพลสเม้นท์ (product placement) : เป็นโอกาสให้กับแบรนด์ด้านความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการสร้างการรับรู้บนพื้นที่ที่คนดูมีสามารถมีอารมณ์ร่วม หรือบนพื้นที่ ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดว่าจะได้เห็นโฆษณา
    • มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง (music marketing) : สามารถใช้มิวสิคมาร์เก็ตติ้งเข้ามาช่วยแสดงให้เห็นถึงคาแรคเตอร์ของแบรนด์ หรือเป็นการปรับแบรนด์ดิ้งใหม่ให้ดูเด็กขึ้น ทันสมัยขึ้น
    • สินค้า/ผลิตภัณฑ์ (merchandise): เป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดในรูปแบบหนึ่งให้กับแบรนด์
      .
  4. T-Pop ต่อการขับเคลิ่อนสังคมในยุคปัจจุบัน
    • การสร้างสรรค์ทางภาษา : การมีภาษาที่ใช้พูด และเข้าใจอย่างไม่เป็นทางการในช่วงที่เพลงติดกระแสในช่วงนั้น ๆ เช่นคำว่า เลือดกรุ๊ปบี
    • การสร้างแรงบันดาลใจ : ให้ได้ลองในสิ่งใหม่ ๆ
    • การแสดงความคิดเห็นต่อสภาพทางสังคม : T-pop เข้ามามีบทบาทในการแสดงความคิดความเห็นส่วนบุคคลที่อาจขัดต่อธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมได้มากขึ้นผ่านผลงานศิลปะ และผ่านทางเนื้อเพลง
    • การปลุกกระแสเรื่องเพศ
    • การสร้างการยอมรับความหลากหลายทางสังคมในเรื่องความงามและตัวตน
      .
  5. มุมมองของมายด์แชร์ต่อเพลงไทย
    • ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสื่อ : ในแง่ที่ผู้บริโภคสามาถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้มากขึ้นผ่าน User Generated Content
    • โอกาสของแบรด์และนักการตลาด : ทั้งในแง่การใช้ตัวศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์และการเข้าถึงฐานแฟนคลับของศิลปิน
    • ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาค : หากมีนโยบายจากภาครัฐในการผลักดันไทยได้เป็นศูนย์กลางทางดนตรีและคอนเสิร์ตจะสามาถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

คุณสุนิธิ เตชินีนรกุล ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวว่า

จากบรีฟของลูกค้าของทางมายด์แชร์ที่พยายามจะใช้เพลงเป็นสื่อในการทำการตลาด ผนวกกับข่าวของค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ในวงการเพลงไทยที่ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมเพลงในเมืองไทยที่มีมูลค่านับพันล้านบาท ทีมการวางแผนกลยุทธิ์การสื่อสารจากมายด์แชร์เลยขอหยิบยกโอกาสนี้มาให้มุมมองต่อวงการเพลงไทย รวมไปถึงการใช้ศิลปินและเพลงไทยในการทำการสื่อสารการตลาด เพื่อให้นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้กับแผนการตลาดของแบรนด์

คุณอริสรา รัตนโชติวิวัฒน์ ผู้จัดการการวางแผนกลยุทธ์บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า

จากสถิติจากนีลเส็น โดยเทียบกันกับกิจกรรมพักผ่อนอื่นๆ คนไทยนิยมการฟังเพลงมากกว่าการดูภาพยนต์หรือซีรีส์ 3.4 เท่า และมากกว่าการเล่นเกม 2.8 เท่า โดยตัวเลขตรงนี้ทำให้เราเห็นถึงนัยยะสำคัญที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้วงการเพลงไทยเติบโต เราจึงอยากหยิบยกความนิยมนี้ขึ้นมาให้มุมมองจากฐานะมีเดียเอเจนซี่ว่าอะไรที่ทำให้วงการเพลงไทยกลับมาอยู่ในกระแส และอะไรที่จะผลักดันให้วงการเพลงไทยต่อไป และแบรนด์ควรใช้เพลงไทยและศิลปินไทยเพื่อต่อยอดฐานลูกค้าอย่างไร


MINDSHARE THINK TANKS ได้รับการเผยแพร่ใน

กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566
BrandAge เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566
Brand Buffet เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566
Marketing Oops! เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566
Marketeer เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566
Positioning เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566

The Latest

X